Site icon มูลนิธิยุวพัฒน์

โรคซึมเศร้า (DEPRESSION)

หลายคนน่าจะรู้จักเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามาบ้างแล้ว แล้วเราเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ว่าอย่างไรบ้าง? บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถแยกได้ระหว่างอารมณ์เศร้ากับโรคซึมเศร้า เพราะโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกวัย หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาการของโรคจะรุนแรงจนกระทั่งนำไปสู่การทำร้ายตัวเองหรือคิดฆ่าตัวตายได้ในที่สุด แต่อย่าเพิ่งกังวลเพราะโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาได้

โรคซึมเศร้าคืออะไร?

1 ใน 4 ของวัยรุ่น มีปัญหาด้านสุขภาพจิตและอารมณ์

หากพูดถึงเรื่องซึมเศร้าเรามักจะนึกกันว่าเป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึกที่เกิดจากความผิดหวังหรือการสูญเสียมากกว่าที่จะโรค ซึ่งความจริงแล้วส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึกธรรมดาๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน มากบ้างน้อยบ้าง แต่ถ้าอารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นนานๆ โดยไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นหรือส่งผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้น และมีอาการต่างๆ ตามมา เช่น นอนหลับๆ ตื่นๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง หมดความสนใจต่อโลกภายนอก รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย รู้สึกว่าตัวเองไม่ดี ความมั่นใจน้อยลง มองสิ่งรอบตัวในแง่ลบ จนกระทั่งอาการรุนแรง นั่นคือ เรากำลังตกอยู่ในภาวะโรคซึมเศร้า ไม่ใช่อารมณ์เศร้า

การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่าผู้นั้นเป็นคนอ่อนแอ ชอบคิดมากหรือเป็นคนไม่สู้ปัญหาเอาแต่ท้อแท้ ซึมเซา แต่ที่เขาเป็นนั้นเป็นเพราะตัวโรค หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม โรคก็จะทุเลาลง พร้อมที่จะกลับมาเป็นผู้ที่มีจิตใจแจ่มใส พร้อมจะทำกิจวัตรต่างๆ ได้เหมือนเดิม

ประเภทของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้ามีหลายประเภท ทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าแต่ละคนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป เช่น
1.โรคซึมเศร้าแบบเมเจอร์ ดีเพรสชั่น (Major Depression) โรคซึมเศร้าชนิดนี้ ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ โดยมากมักมีอาการเศร้าซึมมากจนไม่มีความสุขหรือไม่สนใจในสิ่งต่างๆ ที่เคยชอบ หลับยาก น้ำหนักขึ้นหรือลงฮวบฮาบ รู้สึกหงุดหงิด เหนื่อยๆ เนือยๆ ไม่มีเรี่ยวแรง รู้สึกไร้ค่า ช่วงภาวะซึมเศร้านี้สามารถเกิดในช่วงหลังคลอดได้ และมีอาการหลง หูแว่วประสาทหลอนเกิดขึ้นร่วมด้วย ดังนั้นควรเริ่มรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่ให้โรครุนแรงขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
2.โรคซึมเศร้าแบบดิสทีเมีย (Dysthymia Depression) โรคซึมเศร้าชนิดนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าชนิด เมเจอร์ ดีเพรสชั่น แต่จะมีอาการอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 2 ปี อาการไม่รุนแรงถึงขนาดทำอะไรไม่ได้ เพียงแต่จะรู้สึกไม่อยากอาหารหรือกินมากไป นอนไม่หลับหรือนอนมากไป เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดแรง ขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่ค่อยมีสมาธิ การตัดสินใจแย่ลง และรู้สึกหมดหวัง
3.โรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นก่อนมีระดู  (Premenstrual depressive disorder) ผู้ป่วยจะมีอาการเกิดขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายก่อนมีระดู  อาการจะดีขึ้นใน 2 – 3 วัน หลังจากมีระดู อาการที่พบบ่อย  คืออารมณ์แกว่ง รู้สึกเศร้า อ่อนไหวง่าย ขัดแย้งกับคนอื่นง่าย รู้สึกสิ้นหวัง ดูถูกตนเอง อาจมีอาการวิตกกังวล เครียด นั่งไม่ติด สมาธิลดลง รู้สึกล้า อ่อนเพลีย ไม่อยากทำอะไร ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง การนอนผิดปกติไปจากเดิม และมีอาการทางร่างกายร่วมด้วย เช่น เจ็บเต้านม  เต้านมบวม ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ ตัวบวมขึ้น

โรคซึมเศร้าทำให้ “เรา” เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง?

การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเดือนๆ หรือเป็นเร็วภายใน 1 – 2 สัปดาห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น มีเหตุการณ์มากระทบรุนแรงมากน้อยเพียงใด บุคลิกเดิมของคนที่เข้าค่ายจะเป็นโรคนี้นั้นเป็นอย่างไร มีการช่วยเหลือจากคนรอบข้างมากน้อยแค่ไหน เป็นต้น ผู้ที่เป็นอาจไม่มีอาการตามทุกข้อที่กล่าวมา แต่อาการหลักๆ จะมีความคล้ายกัน คือ รู้สึกเบื่อ เศร้า ท้อแท้ รู้สึกตนเองไร้ค่า นอนหลับไม่สนิท เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

– อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป อาการที่พบบ่อย คือ จะกลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย รู้สึกอ่อนไหวกับเรื่องเล็กๆน้อยๆ บางคนอาจไม่มีอารมณ์เศร้าชัดเจน แต่จิตใจจะหม่นหมองไม่แจ่มใส ไม่สดชื่นเหมือนเดิม บางคนอาจมีความรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างอาจมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย อะไรก็ดูขวางหูขวางตาไปหมด กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย
– ความคิดเปลี่ยนไป มองอะไรก็รู้สึกว่าแย่ไปหมด เห็นแต่ความผิดพลาดในอดีต รู้สึกล้มเหลว ไม่มีใครช่วย ไม่เห็นทางออก มองอนาคตไม่เห็น รู้สึกท้อแท้หมดหวังกับชีวิต บางคนกลายเป็นคนไม่มั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนไร้ความสามารถ ไร้คุณค่า เป็นภาระคนอื่น เหล่านี้อาจทำให้เจ้าตัวคิดเรื่องการตายอยู่บ่อยๆ ในช่วงนี้หากมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนจิตใจอาจเกิดการทำร้ายตัวเองจากอารมณ์ชั่ววูบ
– สมาธิ ความจำแย่ลง หลงลืมง่าย จิตใจเหม่อลอยบ่อย ทำอะไรได้ไม่นานเนื่องจากไม่มีสมาธิประสิทธิภาพในการทำงานและทำกิจวัตรในชีวิตประจำวันลดลง ทำงานผิดๆ ถูกๆ
– มีอาการทางร่างกายต่างๆ ร่วมด้วย ที่พบบ่อย คือ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งเมื่อพบกับความรู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร จะทำให้คนอื่นดูว่าเป็นคนขี้เกียจ มักจะหลับยาก นอนไม่เต็มอิ่ม หลับๆ ตื่นๆ รู้สึกเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก นอกจากนี้ยังมีอาการท้องผูก อืดแน่นท้อง ปากคอแห้ง บางคนอาจมีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย
– ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะดูซึมลง ไม่ร่าเริงแจ่มใสเหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร บางคนอาจกลายเป็นคนขี้ใจน้อย อ่อนไหวง่าย ซึ่งคนรอบข้างมักจะไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนไป บางคนอาจหงุดหงิดบ่อยกว่าเดิม
– การงาน การเรียนและกิจกรรมในชีวิตประจำวันแย่ลง ความรับผิดชอบต่อการงานการเรียนลดลง ไม่มีสมาธิในการทำงานหรือเรียนหนังสือ
– อาการทางจิตอื่นๆ จะพบในรายที่เป็นรุนแรง ซึ่งนอกจากผู้ที่เป็นจะมีอาการซึมเศร้าแล้ว ยังพบว่ามีอาการทางจิตอื่นๆ เช่น อาการหลงผิดหรือประสาทหลอน ที่พบบ่อย คือ จะเชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้งหรือประสงค์ร้ายต่อตนเอง อาจมีหูแว่วได้ยินเสียงคนมาพูดคุยด้วย

โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้อย่างไร?
รู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่?

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

– ด้านกายภาพ-ชีวภาพ เกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล การเจ็บป่วยด้วยโรคทางกายบางอย่างการใช้สารเสพติดหรือยาบางประเภทซึ่งทำให้มีอาการของโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน
– ด้านจิตใจ เกิดจากการขาดทักษะการปรับตัวต่อปัญหาการจัดการความเครียดและบุคลิกภาพนอกจากนี้ คือ ปัจจัยด้านสังคม เช่น มีการสูญเสียคนใกล้ตัว มีความเครียดหรือมีความเจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นต้น

โรคซึมเศร้าไม่ใช่โรคร้ายแรง ไม่ใช่เป็นคนโรคจิตหรือมีอาการทางจิต แต่เป็นโรคที่รักษาให้หายได้ด้วยการรับประทานยารักษาโรคซึมเศร้า หรือยาปรับสารเคมีในสมอง ส่วนด้านจิตใจควรมีการพูดคุยกับคนใกล้ตัว การมองหาความช่วยเหลือหรือหนทางในการแก้ปัญหาใหม่ๆ ควรดึงครอบครัวหรือคนใกล้ชิดเข้ามามีส่วนร่วม รวมถึงการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ให้รู้สึกจำเจ

การประเมินเบื้องต้นของคนที่มีภาวะซึมเศร้า หากมีอาการต่อไปนี้ 5 อาการหรือมากกว่า

1.มีอารมณ์ซึมเศร้าแทบทั้งวัน (ในเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์หงุดหงิด)
2.ความสนใจหรือความเพลินใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก
3.น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก เบื่ออาหาร หรือทานอาหารมากกว่าปกติ
4.นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไป
5.กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
6.อ่อนเพลียไร้เรี่ยวแรง
7.รู้สึกตนเองไร้ค่า
8.สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด
9.คิดเรื่องการตาย

– ใน 5 อาการต้องมีอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อ
– ต้องมีอาการประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป และต้องมีอาการเหล่านี้อยู่เกือบตลอดเวลา แทบทุกวัน ไม่ใช่เป็นๆ หายๆ หรือเป็นแค่ 1-2 วันแล้วหายไปแล้วกลับมาเป็นใหม่

แบบทดสอบโรคซึมเศร้าด้วยคำถาม 9 คำถาม

เป็นแบบสอบถามที่ใช้เพื่อช่วยในการประเมินว่าผู้ตอบมีภาวะซึมเศร้าหรือไม่ รุนแรงมากน้อยเพียงใด เป็นมากจนถึงระดับที่ไม่ควรจะปล่อยทิ้งไว้หรือไม่ ข้อดีอย่างหนึ่งของแบบสอบถามนี้ คือ ช่วยในการประเมินระดับความรุนแรงของอาการได้ว่าแต่ละขณะเป็นอย่างไร อาการดีขึ้นหรือแย่ลง การรักษาได้ผลหรือไม่ ผู้ป่วยอาจทำและจดบันทึกไว้ทุก 1 – 2 สัปดาห์ โดยถ้าการรักษาได้ผลดีจะมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น โดยมีค่าคะแนนลดลงตามลำดับ

หากวัยรุ่นไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ จะทำให้ทุกปัญหากลายเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล จนพัฒนาไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้

คุณสามารถทำแบบทดสอบโรคซึมเศร้าด้วย 9 คำถาม เพื่อประเมินเบื้องต้นว่าคุณกำลังอยู่ในภาวะโรคซึมเศร้าหรือไม่

หากคุณมีผลคะแนนตั้งแต่ 20 คะแนนขึ้นไป สามารถติดต่อไปที่สายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323
สมาคมสมาริตันส์ รับฟังทุกเรื่องด้วยใจ โทร. 02-713-6793
เพื่อระบายความรู้สึกด้านลบหรือขอคำแนะนำได้ หรือเข้าพบแพทย์ได้ที่โรงพยาบาลต่างๆ ที่มีจิตแพทย์ให้บริการ

วิธีรับมือกับความเศร้าอย่างสร้างสรรค์

1.ยอมรับตัวเอง ฝึกสำรวจตัวเอง เรียนรู้ที่จะรู้จักตัวเองมากขึ้น และฝึกยอมรับในสิ่งที่ตนเองเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียเพื่อที่จะช่วยให้เรารับมือกับสถานการณ์ที่ทำให้ผิดหวังหรือเสียใจได้ รู้จักขอบคุณตัวเองและแสดงความภาคภูมิใจในตัวเองอยู่เสมอ เมื่อได้ลงมือทำในสิ่งที่ดีเชื่อว่าชีวิตมีขึ้นมีลง แค่ต้องรับมือกับมันให้ได้
2.หัวเราะเยอะๆ เมื่อรู้สึกทุกข์ควรพาตัวเองอยู่กับสิ่งที่ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน เช่น ดูภาพยนตร์ตลกหรืออ่านเรื่องขำขัน หรือพูดคุยกับเพื่อนๆ ในเรื่องขบขัน สนุกสนาน เพื่อช่วยคลายเครียดช่วยคลายความทุกข์ในใจ
3.ระบายความรู้สึก ควรเรียนรู้ที่จะหาวิธีปลดปล่อยความรู้สึกเศร้า โกรธ ผิดหวัง หรือเสียใจออกมา เพราะอาการซึมเศร้ามักเกิดจากการเก็บกดอารมณ์ความรู้สึกไว้ ทำได้โดยการพูดคุยกับคนที่ไว้ใจได้ ตะโกนหรือร้องไห้ออกมาดังๆ หรือเขียนความรู้สึกลงในสมุดบันทึก
4.ออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วยต้านโรคซึมเศร้าได้เนื่องจากการออกกำลังกายช่วยเพิ่มระดับสารเคมีเซโรโทนินในสมอง รวมถึงเพิ่มการหลั่งสารเอนดอร์ฟีนที่ช่วยทำให้ผ่อนคลายและช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น
5.ออกไปเที่ยว การเดินทางท่องเที่ยวถือเป็น “ยาดี” สำหรับคนที่มีภาวะซึมเศร้า เพราะเป็นการหนีห่างจากสิ่งแวดล้อมเดิมๆ ที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยหน่าย เศร้า เบื่อ ฯลฯ เปลี่ยนไปสู่สิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่สดใส มีพลังมากขึ้นได้ พบเห็นสิ่งใหม่ๆ วัฒนธรรมใหม่ๆ ผู้คนใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดและคลายความเศร้าได้ดี
6.ทำงานอดิเรก หากมีเรื่องเครียดหรือเรื่องที่ทำให้เศร้าอยู่นาน ต้องพยายามสะบัดความรู้สึกเหล่านั้นออกแล้วไปทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ฝึกสมาธิ หรือการทำงานอดิเรกต่างๆ
7.การมองโลกในแง่ดี จะช่วยลดความวิตกกังวล โดยอาจเริ่มจากฝึกคิดเรื่องต่างๆ ในมุมบวก ฝึกมองคนอื่นในแง่ดี และรู้จักชื่นชมคนอื่น หากทำได้จะเป็นการเติมเต็มความสุขให้กับชีวิตและอย่าลืมว่าเราไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก อย่าลืมครอบครัวและเพื่อนฝูง

ถ้าต้องการความช่วยเหลือ…ทำอย่างไรดี?

หากคุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังมีความกังวลหรือความเครียดที่มีอยู่จะเข้าข่ายภาวะซึมเศร้าหรือไม่ สามารถโทรสายด่วน ปรึกษาปัญหาเบื้องต้น เพื่อขอคำปรึกษาก่อนเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
1.สายด่วน 1323 สำหรับพูดคุยปรึกษา ผู้ที่ให้คำปรึกษาส่วนใหญ่เป็นนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ พยาบาลวิชาชีพ
2.Depress we care โรงพยาบาลตำรวจ สายด่วน 081-932-0000
3.สมาคมสะมาริตันส์แห่งประเทศไทย โทร. 02 713 6793 (เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 12.00 – 22.00 น.)
เมื่อปรึกษาสายด่วนแล้ว คุณเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้าและต้องเข้าพบจิตแพทย์ ในการใช้บริการให้โทรสอบถามรายละเอียดก่อนล่วงหน้า ทั้งตารางออกตรวจ คิวนัด และค่ารักษาพยาบาล (กรณีโรงพยาบาลเอกชน) หรือให้เจ้าหน้าที่แนะนำโรงพยาบาลตามสิทธิรักษาพยาบาลใกล้บ้านหรือที่เราสะดวก เพื่อเข้ารับรักษาโรคต่อไป

รายชื่อ “โรงพยาบาลรัฐบาล” ที่มีจิตแพทย์

ในกรุงเทพฯและปริมณฑล

  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
  • คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล
  • โรงพยาบาลกลาง
  • โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (รับเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งของโรงพยาบาล)
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แผนกจิตเวช อาคาร ภปร ชั้น 12 โทร. 0-2256-4000, 0-2256-5180, 0-2256-5182
  • โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ
  • โรงพยาบาลตากสิน
  • โรงพยาบาลตำรวจ
  • โรงพยาบาลทหารผ่านศึก
  • โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
  • โรงพยาบาลนครปฐม
  • โรงพยาบาลสมุทรสาคร
  • โรงพยาบาลพร้อมมิตร (โรงพยาบาลบ้านแพ้ว สาขาพร้อมมิตร)
  • โรงพยาบาลปทุมธานี
  • โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ
  • โรงพยาบาลภูมิพลอดุยเดช
  • โรงพยาบาลมเหสักข์
  • โรงพยาบาลราชวิถี
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกจิตเวชศาสตร์ อาคาร 4 ชั้น 2 โทร 02-201-1235 หรือ 02-201-1726
  • โรงพยาบาลเลิดสิน
  • โรงพยาบาลศิริราช
  • โรงพยาบาลศรีธัญญา คลินิกคลายเศร้า (โรคซึมเศร้า) ทุกวันพุธ เวลา 08.00 – 12.00 น. โทร 02-528-7800 ต่อ 57164
  • โรงพยาบาลสงฆ์
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
  • ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (โรงพยาบาลชลประทาน จ.นนทบุรี)
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง สายด่วนสุขภาพจิต 02-391-2962
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 23 สี่พระยา
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 24 บางเขน
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข 33 วัดหงส์รัตนาราม
  • สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ (เดิมชื่อ โรงพยาบาลนิติจิตเวช)
  • สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
  • สถาบันธัญญารักษ์ (สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี)
  • สถาบันประสาทวิทยา
  • สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ

รายชื่อ “โรงพยาบาลเอกชน” ที่มีจิตแพทย์

ในกรุงเทพฯและปริมณฑล

  • โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ
  • โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น
  • โรงพยาบาลคามิลเลียน
  • โรงพยาบาลเจ้าพระยา
  • โรงพยาบาลเซ็นต์หลุยส์
  • โรงพยาบาลเซ็นทรัลเยนเนอรัล
  • โรงพยาบาลเทพธารินทร์
  • โรงพยาบาลไทยนครินทร์
  • โรงพยาบาลธนบุรี
  • โรงพยาบาลนครธน
  • โรงพยาบาลนนทเวช
  • โรงพยาบาลนวมินทร์1
  • โรงพยาบาลนวมินทร์9
  • โรงพยาบาลบางนา1
  • โรงพยาบาลบางนา2
  • โรงพยาบาลบางโพ
  • โรงพยาบาลบางมด
  • โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล
  • โรงพยาบาลบีเอ็นเอช
  • โรงพยาบาลบีแคร์
  • โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
  • โรงพยาบาลประชาพัฒน์ (เดิมชื่อ นวมินทร์ 2)
  • โรงพยาบาลปิยะมินทร์ สมุทรปราการ
  • โรงพยาบาลปิยะเวท
  • โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย4
  • โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
  • โรงพยาบาลเปาโล สะพานควาย
  • โรงพยาบาลพญาไท 1
  • โรงพยาบาลพญาไท 2
  • โรงพยาบาลพญาไท 3
  • โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์
  • โรงพยาบาลพระราม 9
  • โรงพยาบาลพระราม 2
  • โรงพยาบาลเพชรเวช
  • โรงพยาบาลแพทย์รังสิต
  • โรงพยาบาลภัทรธนบุรี
  • โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
  • โรงพยาบาลมนารมย์
  • โรงพยาบาลเมโย
  • โรงพยาบาลรามคำแหง
  • โรงพยาบาลราษฎร์บูรณะ
  • โรงพยาบาลลาดพร้าว
  • โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
  • โรงพยาบาลวิภาราม (นนทบุรี)
  • โรงพยาบาลวิภาวดี
  • โรงพยาบาลเวชธานี
  • โรงพยาบาลศิครินทร์
  • โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  • โรงพยาบาลศรีวิชัย 1
  • โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
  • โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์
  • โรงพยาบาลสายไหม
  • โรงพยาบาลสินแพทย์
  • โรงพยาบาลสุขสวัสดิ์ (เดิมชื่อ กรุงธน 2)
  • โรงพยาบาลหัวเฉียว
  • โรงพยาบาล World Medical Center

รายชื่อ “คลินิกจิตเวช”
รายละเอียดเกี่ยวกับการรักษาและค่าใช้จ่าย สามารถติดต่อสอบถามทางคลินิกโดยตรง

ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

  • คลินิกแพทย์นพดล 761/46 ซอยสาธุประดิษฐ์58 ใกล้วัดดอกไม้ พระรามสาม แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร เปิดวันจันทร์-เสาร์ 17.30 – 19.30น. ,วันอาทิตย์ 8.30 – 10.30 น. โทร.02-294-4939 ,065-504-4939
  • คลินิกบางกอกเฮลท์ฮับ นพ.กัมปนาท ตันสิถบุตรกุลชั้น 3 อาคารสีลม 64 สีลม โทร 02-632-8232, 086-377-8171 www.bangkokhealthhub.com
  • Chanin Clinic นพ.ชนินทร์ 89/3 หมู่บ้าน วิสต้าปาร์คแจ้งวัฒนะ ถ.แจ้งวัฒนะ ต.บางตลาด อ. ปากเกร็ด นนทบุรี 11120 โทร 092-248-2462
  • ระวีลักขณคลินิกเวชกรรม พญ.นฤมล 112/121 ถ.เรวดี อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทร. 02-951-4018
  • สมรักจิตเวชคลินิก 62/8 ประชาราษฎร์1 (12) ประชาราษฎร์สาย1 บางซื่อ บางซื่อ กทม. 10800 เปิดวันจันทร์/อังคาร/พฤหัส เวลา 18.00 – 22.00น. โทร 02-5867627
  • นิพัทธิ์คลินิกแพทย์ นพ.นิพัทธิ์ การญจนธนาเลิศ 2024/37 ซอย สุขุมวิท 50 ถนนริมทางรถไฟสายปากน้ำ แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กทม.10150 โทร.02-331-0642
  • คลินิกแพทย์วิเชียร นพ.วิเชียร ดีเป็นธรรม จ.นนทบุรี หยุดวันจันทร์ 089-4828290 ,02-9674391 www.drwichian.com
  • Mind and Mood Clinic ผศ.พญ. ศุภรา เชาว์ปรีชา 94 ซอยพหลโยธิน 32 ถ.พหลโยธิน แขวง จันทรเกษม เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-561-0210 ,02-561-0211 เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00-21.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00-20.00 น.
  • กายใจคลินิก (Body and Mind Clinic) นพ.พร ทิสยากร อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 2 เปิดจันทร์-ศุกร์ 16:30-20:00 น. เสาร์-อาทิตย์และวันหยุดราชการ 10:00-16:00 น. โทร  093-332-2511 www.bodyandmindclinicbkk.com
  • เติมสุขคลินิก 34 ซอยพัฒนาการ 61 ถนนพัฒนาการ แขวงประเวศ เขตประเวศ กทม. 10250 เปิดวันอังคาร-ศุกร์ 17.00-19.00 น.วันเสาร์-อาทิตย์ 9.00-18.00น. โทร 095-950-9050
  • คลินิกหมอสมชาย 119 ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 เปิดทำการวันอังคาร,พฤหัส 17.00 -19.00 น. วันเสาร์ 09.00 – 15.00 น. โทร. 095-7099275 ,02-5276025

รายชื่อคลินิก – โรงพยาบาลที่มีจิตแพทย์ ในต่างจังหวัด

ภาคเหนือ 

  • โรงพยาบาลจอมทอง จ.เชียงใหม่
  • โรงพยาบาลเชียงใหม่-ราม (เอกชน)
  • โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่
  • โรงพยาบาลธัญญารักษ์ เชียงใหม่
  • โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (โรงพยาบาลสวนดอก)
  • โรงพยาบาลสวนปรุง (จ.เชียงใหม่)
  • โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ศรีบุรินทร์ (เอกชน) จ.เชียงราย
  • โรงพยาบาลน่าน
  • โรงพยาบาลแพร่
  • โรงพยาบาลลำปาง
  • โรงพยาบาลลำพูน
  • โรงพยาบาลธัญญารักษ์ แม่ฮ่องสอน
  • โรงพยาบาลสุโขทัย
  • โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
  • สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ (จ.เชียงใหม่)

(หมายเหตุ : จ.พะเยา ไม่มีจิตแพทย์ประจำ มีจิตแพทย์ จาก จ.แพร่ ไปออกตรวจเดือนละ 1 ครั้ง ต้องสอบถามทางโรงพยาบาลว่าเป็นวันที่เท่าไหร่ในแต่ละเดือน)

  • คลินิกนายแพทย์ศิริศักดิ์ เชื้อชวลิต ตรงข้ามตำรวจท่องเที่ยวแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00-20.00 น. วันเสาร์ เวลา 9.00-12.00 น. เวลา 17.00-20.00 น.หยุดวันอาทิตย์ เบอร์โทรศัพท์ 084-2346245
  • คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางจิตเวชหมอแพรว พญ.แพรว ไตรลังคะ 146/117 หมู่บ้านพิณธนา ถ.อินใจมี ต.ท่าอิฐ เมือง อุตรดิตถ์ 53000 โทร. 055-411-771
  • คลินิกแพทย์หญิงนฤมล จ.แพร่

ภาคตะวันตก

  • โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา (จ.กาญจนบุรี)
  • โรงพยาบาลแม่สอด (จ.ตาก)
  • โรงพยาบาลราชบุรี
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (จ.ตาก)
  • โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัด สุพรรณบุรี
  • โรงพยาบาล หัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์
  • โรงพยาบาล บ้านโป่ง จังหวัด ราชบุรี
  • โรงพยาบาลนภาลัย (เดิมชื่อรพ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • โรงพยาบาลครบุรี (จ.นครราชสีมา)
  • โรงพยาบาลค่ายสุรนารี (จ.นครราชสีมา)
  • โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น
  • โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์
  • โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์
  • โรงพยาบาลชัยภูมิ
  • โรงพยาบาลเทพรัตน์ (จ.นครราชสีมา)
  • โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  • โรงพยาบาลปากช่อง (จ.นครราชสีมา)
  • โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ (จ.อุบลราชธานี)
  • โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • โรงพยาบาลมหาสารคาม
  • โรงพยาบาลยโสธร
  • โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • โรงพยาบาลศรีสะเกษ
  • โรงพยาบาลสกลนคร
  • โรงพยาบาลสุรินทร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • คลินิกหมอมงคล 67/3 ถ.เดชอุดม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000 เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 17.00-20.00 น.วันเสาร์ 9.00-12.00 น. และ 17.00-20.00 น. โทร 081-5937471
  • คลินิกแพทย์หญิงโชติมา 9/14 ถ.เอื้ออารีย์ (เยื้องธนาคารกสิกร) ต.ในเมือง อ.เมือง จ.เลย 42000 เปิดเฉพาะวันเสาร์ 10.00-12.00 น. และ 17.00-19.00 น.โทร 082-8403670
  • คลินิกสุขภาพใจ พญ.พิยะดา หาชัยภูมิ โรงแรมเลยพาวิลเลี่ยน 111/1 ถ.เลย-ด่านซ้าย จ. เลย โทร.088-560 1112 
  • คลินิกสุขภาพจิตหมอวิวัฒน์ 195/1 ถ.อุปลีสาน ต.ในเมือง เทศบาลนครอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี 34000 เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 18.00-20.00 น. วันเสาร์ 9.00-15.00 น. หยุดวันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ โทร 093-614-9635 www.doctorwiwat.com 
  • คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา 145/1-2 ถ.สุขาอุปถัมภ์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี โทร. 088-0780588
  • คลินิกสุขภาพจิตหมอการุญพงศ์ 228/2 ถ.ยมราช ต.ในเมือง อ.เมืองจ.นครราชสีมา 30000 จันทร์-พุธ-ศุกร์ 17.00-20.00 น. เสาร์ 9.00-12.00 น. โทร. 090-292-0284
  • ศิริณาการแพทย์ 212/24 เซนทาราซิตี้ ถ.ชาตะผดุง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 เปิดจันทร์ อังคาร พุธ ศุกร์ 17.00-20.00 น , เสาร์ 9.00-12.00 น. (หยุดวันพฤหัสและอาทิตย์) โทร. 094-5305178
  • ขอนแก่นการแพทย์คลินิกจิตเวช พญ. สิริกุล ใจเกษมวงศ์ 212/9 ม.2 หมู่บ้าน ZENTARA CITY ชาตะผดุง ถ.ชาตะผดุง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 เปิดวันจันทร์ – วันศุกร์ และวันหยุด 12.30 – 13.00 น และ 17.30 – 20.00 น. วันพฤหัสบดี17.30 – 20.00 น. วันเสาร์ 09.30 – 13.00 น. และ 17.00 – 19.00 น. ปิดทุกวันอาทิตย์ โทร 063-8963595, 061-6541962
  • คลินิกหมอปิยนุช 897/4 ถ.อุบล ต.เมืองใต้ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ 33000 เปิดวันจันทร์ถึง ศุกร์ 17.00 – 20.00 ,วันเสาร์ 9.00 – 12.00, 17.00 – 20.00 โทร 062-196-5658

ภาคกลาง

  • โรงพยาบาลกำแพงเพชร
  • โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์
  • โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช (จ.สุพรรณบุรี)
  • โรงพยาบาลนครนายก
  • โรงพยาบาลนครสวรรค์
  • โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช
  • โรงพยาบาลพระพุทธบาท (จ.สระบุรี)
  • โรงพยาบาลพิจิตร
  • โรงพยาบาลพุทธชินราช (จ.พิษณุโลก)
  • โรงพยาบาลสระบุรี
  • โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ (จ.นครสวรรค์)
  • โรงพยาบาลสิงห์บุรี
  • โรงพยาบาลอานันทมหิดล (จ.ลพบุรี)
  • โรงพยาบาลอ่างทอง
  • ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จ.นครนายก)
    ภาคกลาง และ ภาคตะวันออก
  • คลินิกแพทย์ฟ้าสินีเวชกรรม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก เปิดวันอังคาร,พฤหัส,ศุกร์ 17.00-20.00 น. และเสาร์ 9.00-12.00 น. ติดต่อ 06-5423-4577 ,055-906678
  • บ้านรักษ์ใจคลินิกจิตเวช พญ.อรวรรณ จตุรสิทธา 693/6 ถ.บึงพระจันทร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000 เปิดบริการวันจันทร์- พฤหัส 17.00 – 20.00 น., เสาร์ 9.00 -15.00 น. โทร 091-0310089
  • คลินิกแพทย์หญิงน้ำทิพย์ 15,17ถ.ไสฤาไท อ.เมืองจ.พิษณุโลก 65000 เปิดวันจันทร์-เสาร์ 9.00-15.00 น. โทร 089-7841217
  • คลินิกหมอกัลยา 2/23 ถ.ราษฎร์รวมใจ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 17.00-19.00 น. ,วันเสาร์-อาทิตย์ 9.30-11.30 น.ปิดทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์ โทร. 088-172-5658

ภาคตะวันออก

  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ พัทยา
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ ระยอง
  • โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์
  • โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ (จ.ปราจีนบุรี)
  • โรงพยาบาลชลบุรี
  • โรงพยาบาลบางละมุง จ.ชลบุรี
  • โรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา
  • โรงพยาบาลพระปกเกล้า (จ.จันทบุรี)
  • โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา
  • โรงพยาบาลระยอง
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา (จ.ชลบุรี)
  • โรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี
  • โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ (จ.ชลบุรี)
  • คลินิกเวชกรรมหมอภาสกร – ตั้ม 42/6 ถ.ศรีโสธรตัดใหม่ ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา โทร. 097-247-2215 
  • คลินิกแพทย์ธรรมิกา ริม ถ.พระยาสัจจา ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี เปิดวันอาทิตย์ – พฤหัสบดี เวลา 15.00-20.00 น. โทร 087-9926993 
  • คลินิกหมอพีรพล 15/1 ถ.ภักดีบริรักษ์ อ.เมือง จังหวัดระยอง เปิดวันจันทร์-พฤหัส 16.45-19.00 น. และวันอาทิตย์ที่ 1,3,5 ของเดือน 16.45-19.00 น. โทร 064-213-1212
  • Indochina clinic อินโดจีนคลินิก โดย นพ.กรกต อ.อรัญประเทศ จ. สระแก้ว 27120 โทร 080-826-0135

ภาคใต้

  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ สมุย
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่
  • โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์
  • โรงพยาบาลตะกั่วป่า (จ.พังงา)
  • โรงพยาบาลท่าศาลา (จ.นครศรีธรรมราช)
  • โรงพยาบาลทุ่งสง (จ.นครศรีธรรมราช)
  • โรงพยาบาลธัญญารักษ์ สงขลา (เกาะยอ)
  • โรงพยาบาลธัญญารักษ์ ปัตตานี
  • โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
  • โรงพยาบาลปัตตานี
  • โรงพยาบาลพัทลุง
  • โรงพยาบาลมหาราช นครศรีธรรมราช
  • โรงพยาบาลยะลา
  • โรงพยาบาลราษฏร์ยินดี (จ.สงขลา)
  • โรงพยาบาลวชิระ ภูเก็ต
  • โรงพยาบาลศูนย์ตรัง
  • โรงพยาบาลสงขลา
  • โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ (จ.สุราษฎร์ธานี)
  • โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
  • คลินิกแพทย์ธิติพันธ์ สามแยก กม.0 ถนนธราธิบดี อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี เปิดวันอังคาร-ศุกร์ 17.30-20.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ 9.00-16.00 น. โทร. 077-31-2222
  • คลินิกรัษ์จิต เลขที่ 107/32 กม.18 ฝั่งมา กม.0 ต.ท่าโรงช้าง อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี 84130 วันจันทร์ อังคารและศุกร์ 18.00 – 20.00น. วันหยุด 9.00 -17.00 น. โทร 093-925-5356
  • คลินิกหมอตาล คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางจิตเวชเด็กและวัยรุ่น อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.ชุมพร
  • แฮปปี้คิดส์คลินิกเวชกรรม 155/6 ถ.พัฒนาการคูขวาง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โทร. 075-347-779, 089-197-8877
  • คลินิกแพทย์หญิงดลฤดี พญ.ดลฤดี เพชรสุวรรณ 45/15 อาคารเจริญอพาร์ทเม้น ถ.รัษฎา ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000 โทร. 075-216-989
  • คลินิกหมอภัทราพร (ตรงข้าม รพ.จิตเวชสงขลาฯ) 717/2 ถ.ไทรบุรี ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา โทร .074-322-844 จันทร์,พุธ-ศุกร์ 17.00 – 19.30 น. / เสาร์ 9.00 – 12.00 น., 17.00 – 19.30 น. ปิดวันอังคาร และวันอาทิตย์
  • คลินิกจิตเวชนายแพทย์ชูเกียรติ 438 ถ.ศุภสารรังสรรค์ ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 17.00 – 20.00น., วันเสาร์ 9.00 – 17.00น. หยุดวันอาทิตย์ โทร.074-818108
  • หมอณัฐนัยนาคลินิก พญ.ณัฐนัยนา อนันต์ศิริภัณฑ์ จ.ภูเก็ต เวลาทำการ จันทร์-ศุกร์ 17.00 – 19.00 น. วันอาทิตย์ 13.00 – 15.00 น. ,หยุดวันเสาร์ โทร. 083 790-4166, 076-524-181
  • คลินิกหมออมรรัตน์ 26/147 ม.5 ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 82190 เปิดวันจันทร์ – ศุกร์  17.00 – 20.30 น. อาทิตย์ 15.00 – 20.30 น. ปิดวันเสาร์ โทร. 083-647-7053
  • คลินิกหมอกาญจนา 219/24 ถ.เทวบุรี อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โทร 075 358 532 
  • คลินิกหมอสรินญพร ถ.กระบี่ ต.ปากน้ำ อ.เมือง กระบี่ โทร 075 813 006
  • คลินิกแพทย์หญิงธวัลรัตน์ 37/1 ถ.ดำรง ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 17.00 – 20.00 ,เสาร์ 9.00-15.00 หยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์  โทร 093-576-6638
  • บางไทร คลินิก พญ.ชนิกา ศฤงคารชยธวัช 20 ม.1 ต.บางไทร อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 82110 เปิดวันศุกร์ 17.30 – 20.00 น. วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ 08.00 – 20.00 น. โทร 062-230-8080

เมื่อใดก็ตามที่เรามีความไม่สบายใจหรือวิตกกังวลจนกระทบการทำงาน การเรียนหรือการดำเนินชีวิต อย่ากลัวหรืออายที่จะขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นหรือจิตแพทย์ เพื่อให้เราสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ตระหนักไว้เสมอว่าไม่มีปัญหาใดไม่มีทางออกและมีคนพร้อมจะช่วยเราเสมอ

ท้ายที่สุด…เราไม่สามารถรักษาหรือบำบัดโรคซึมเศร้าได้ด้วยตัวเอง หากเริ่มรู้สึกว่าชีวิตของตนเองไม่ปกติ ขาดความสมดุล มีความเครียดสูง การพบจิตแพทย์ก็เหมือนกับการตรวจสุขภาพใจให้เราเข้าใจสภาพจิตใจของตนเองในขณะนั้น  แพทย์จะแนะนำวิธีป้องกันและปรับสภาพจิตใจให้ดีขึ้นด้วยการปรับวิธีคิด หรือรักษาด้วยการใช้ยา เพราะปัญหาทางด้านจิตใจหรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้น ไม่ใช่มีสาเหตุจากโรคซึมเศร้าเพียงอย่างเดียว การพบจิตแพทย์จะช่วยให้เราได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

ที่มาข้อมูล
https://med.mahidol.ac.th
https://www.isranews.org
https://www.thaihealth.or.th
https://www.phyathai.com

Exit mobile version