รู้จักโครงการ Food4Good (ฟู้ดฟอร์กู๊ด) โดย มูลนิธิยุวพัฒน์
โภชนาการที่ดีคือรากฐานของการเจริญเติบโต เด็กทุกคนควรได้รับอาหารและสารอาหารที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเหมาะสมตามวัย เพื่อมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต เราทำหน้าที่เป็นกลไลสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการสนับสนุนโภชนาการที่ดีและขจัดปัญหาเด็กทุพโภชนาการให้หมดไปจากประเทศไทยอย่างยั่งยืน
การดำเนินงานของ Food4Good
เราช่วย..ระดมทรัพยากร
เพื่อให้เด็กๆ ในพื้นที่ห่างไกล ได้รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน หลากหลาย ปริมาณเพียงพอต่อการเจริญเติบโตและมีภาวะโภชนาการที่ดี
เราเสริม…ความรู้
ด้านโภชนาการให้ครูสามารถจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง พร้อมทั้งสามารถส่งต่อความรู้ในรุ่นต่อๆ ไปรวมถึงช่องทางในการรับคำปรึกษาจากนักโภชนาการโดยตรง
เราสนับสนุน…เกษตรปลอดภัย
เพื่อสร้างความยั่งยืนของแหล่งอาหาร เช่น การปลูกผักอินทรีย์เพื่อนำมาปรุงอาหาร โรงเพาะเห็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เป็นต้น และส่งเสริมให้เกิดกองทุนหมุนเวียน ฟู้ดฟอร์กู๊ด เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารแก่เด็กนักเรียนในระยะยาว
เราติดตาม..ภาวะโภชนาการเด็ก
ด้วยการดูแลภาวะโภชนาการเด็กทั้งโรงเรียน และทำงานใกล้ชิดกับกลุ่มเด็กที่มี “ภาวะทุพโภชนาการ” และเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงพร้อม ทั้งทำงานเชื่อมต่อกับสาธารณะสุขในพื้นที่
เปิดเทอมนี้ ทรูมันนี่ และ Food4Good เชิญชวนทุกคนร่วมบริจาค ส่งมอบโภชนาการที่ดีให้แก่เด็กๆ ในโรงเรียนที่ห่างไกลผ่านแอป “ทรูมันนี่วอลเล็ท”
ทรูมันนี่ 1 ใน บริษัท ฟินเทค ผู้นำด้านการบริการด้านเทคโนโลยีทางการเงินที่ทันสมัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ให้บริการหลากหลาย ครอบคลุมทุกการใช้จ่าย สามารถใช้จ่ายแทนเงินสดได้ที่ร้านค้าชั้นนำทั่วไทย สนุกกับทุกความบันเทิงบนโลกออนไลน์ เติมเน็ต เติมโทร เติมเงิน ได้ทันทีที่ต้องการ พร้อมบริการอื่นๆ ทางการเงิน พร้อมสิทธิพิเศษมากมาย และอีกหนึ่งบริการจากทรูมันนี่ที่จะช่วยองค์กรการกุศลต่างๆ ในการระดมทุน คือบริการ “บริจาค” ที่มีมูลนิธิต่างๆ เข้าร่วมแล้วมากกว่า 40 มูลนิธิ
เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด 19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ผู้ปกครองหลายคนตกงาน ขาดรายได้ ต้องย้ายกลับภูมิลำเนาเพื่อทำการเกษตร หากแต่ราคาผลผลิตตกต่ำ รายได้ไม่พอเพียงต่อการดำรงชีพ ส่งผลให้เด็กๆ ได้รับผลกระทบไปด้วย “ทรูมันนี่วอลเล็ท” จึงร่วมมือกับ “Food4Good” ชวนทุกคนมาร่วมสมทบทุนเพื่อช่วยเหลือและแก้ปัญหาโภชนาการ “ขาด” และ “เกิน” ของเด็กในชนบทที่ห่างไกลอย่างยั่งยืน